เลือกภาษา: EN TH

บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของ บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ นโยบายการใช้คุกกี้

เอกสารสำคัญ

ใบรับรอง

ISO-9001:2015

 

ISO 9001:2015 คือการจัดการวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กร รู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม

ISO-14001:2015

 

ISO 14001:2015 คือมาตรฐานสากลสำหรับองค์กรที่ต้องการบริหารจัดการกับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยใช้ข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยการเพิ่มสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม การดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมายและพันธะสัญญาที่เกี่ยวข้อง และความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อทำให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร รวมถึงเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ISO-22000:2018

 

ISO 22000 - มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร คือมาตรฐานสากลที่เป็นข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่ผลิตนั้นไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

FSSC 22000

 

Food Safety System Certification 22000 คือ ระบบการจัดการความปลอดภัยทางอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานระบบ GHPs & HACCP, ISO 22000 ISO/TS22002-X และ Additional Requirements ตามมาตรฐานสากล FSSC 22000 โดยมาตรฐานนี้จะช่วยให้บริษัทฯ กำหนดวิธีการจัดการควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร และยืนยันระบบความปลอดภัยของอาหารตั้งแต่ กระบวนการคัดเลือกผู้ขาย รับเข้าวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ สินค้าสำเร็จรูป การส่งมอบ รวมถึงพื้นที่ปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มีกระบวนการ การจัดการความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่ผลิตไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค


FSSC22000

ISO-45001:2018

 

ISO 45001 - มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือมาตรฐานสากลที่เป็นข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational heath and safety : OH&S) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทั้งพนักงานขององค์กรและบุคลากรภายนอกรวมถึงบุคคลที่สามารถได้รับผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่อง

GHPs & HACCP

 

GHPs - Good Hygiene Practices (การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี) และ HACCP - Hazard Analysis and Critical Control Point (ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร) บริษัทมีการดำเนินงานตามหลักการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GHPs) รวมทั้งมีการจัดทำ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอและเพื่อประโยชน์สูงสุด สำหรับผู้บริโภค

Kosher

 

ศาสนายูดายมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารที่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาเรียกว่า "คัชรูท" (Kashruth) อาหารที่เหมาะสม เป็นไปตามข้อที่กำหนดและหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตให้รับประทานได้ ข้อกำหนดนั้นเรียกว่า โคเชอร์ คำว่าโคเชอร์เป็นภาษาฮีบรูว์ แปลว่า "สะอาด" หรือ "เหมาะสม" หรือ "เป็นที่ยอมรับ"

Halal

 

อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้" “ฮาลาล” เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ

RSPO

 

RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) เป็นมาตรฐาน การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้าน สังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันที่ได้รับ การยอมรับในระดับนานาชาติมากที่สุดขณะนี้ อย่างไรก็ตามมาตรฐาน RSPO มี หลักการ เกณฑ์กำหนด ตัวชี้วัดและแนวปฏิบัติค่อนข้างมากและซับซ้อนเพื่อบรรลุเป้าหมายรวมกันคือ ความยั่งยืนของตลาดน้ำมันปาล์ม
"บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ยืนยันการดำเนินการตามข้อกำหนดความรับผิดชอบร่วมกันของ RSPO ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มของเรา"


2-0123-09-100-00

Check our progress at www.rspo.org

Green Industry

 

อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 (Green Industry) คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


รายละเอียดใบรับรองอุสาหกรรมสีเขียว : GI(E)3-377/2566 , GI(E)3-378/2566

CFO

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) เป็นเครื่องมือที่แสดงข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions and Removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์กรในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า องค์กรสามารถนำผลที่ได้ไปใช้กำหนดแนวทางบริหารจัดการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งปล่อยที่มีนัยสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ภาครัฐกำหนดให้มีการรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย


ISCC

 

ISCC (International Sustainability and Carbon Certification) คือ ระบบการรับรองที่จัดทำขึ้นเพื่อการประยุกต์ใช้งานและการรับรองในระดับนานาชาติ สำหรับการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างโปร่งใส เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการทำลายทรัพยากรป่าไม้ธรรมชาติ ปกป้องพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน


CAC

 

แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC) แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เป็นความริเริ่มของภาคเอกชนไทยในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมุ่งสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชนในรูปแบบของ collective action เพื่อสร้างกระแสการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการที่จะปฏิเสธการรับและจ่ายสินบน รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

CFO Level 2