เลือกภาษา: EN TH

บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของ บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ นโยบายการใช้คุกกี้

กฎบัตร

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

  1. คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับให้การบริหารเป็นไปตามนโยบาย วิสัยทัศน์ ตลอดจนเป้าหมายของบริษัท ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการพิจารณา นโยบายกฎระเบียบ และแนวปฏิบัติที่สำคัญเพื่อให้การบริหารบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง และครอบคลุมนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินกิจการที่โปร่งใสและไม่ขัดแย้งต่อนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  2. มีอำนาจสั่งการ วางแผน และกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ดำเนินกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายหรือแผนธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติหรือกำหนดไว้แล้ว
  3. เสนอแผนการลงทุน และ/หรือการระดมทุนของบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ แล้วแต่กรณี
  4. กำหนดนโยบาย แผนธุรกิจ และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์
  5. อนุมัติการใช้จ่ายเงินลงทุนที่ได้กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติในหลักการแล้ว
  6. มีอำนาจตามผังอำนาจอนุมัติที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว
  7. มีอำนาจดำเนินการซื้อ ขาย จัดหา รับเช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้หรือจัดการโดยประการอื่นซึ่งทรัพย์สินใด ๆ รวมถึงการลงทุน ตามแผนงานที่คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติแล้ว
  8. มีอำนาจในการอนุมัติการซื้อทรัพย์สิน หรือการชำระราคาใด ๆ อันสืบเนื่องมาจากการดำเนินงานของบริษัท ตามสัญญา และ/หรือ ตกลงกับคู่ค้า โดยมีรายละเอียดตามผังอำนาจอนุมัติที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
  9. ภายในวงเงินที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอำนาจไว้ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจอนุมัติการซื้อ การจัดจ้าง การเช่า การเช่าซื้อ ทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนมีอำนาจลงทุน และดำเนินการชำระค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยมีรายละเอียดตามผังอำนาจอนุมัติที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
  10. ภายในวงเงินที่คณะกรรมการได้มอบอำนาจไว้ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจอนุมัติการกู้ยืมเงิน เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร นิติบุคคลหรือสถาบันการเงินอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยมีรายละเอียดตามผังอำนาจอนุมัติที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
  11. มีอำนาจพิจารณากำหนดสวัสดิการพนักงานให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสถานะทางเศรษฐกิจ
  12. ดำเนินการเรื่องอื่นๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการข้างต้น หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในแต่ละคราวไป
  13. ติดตามการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส
ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารดังกล่าวข้างต้นนั้น จะไม่รวมถึงอำนาจ และ/หรือ การมอบอำนาจช่วงในการอนุมัติรายการใดที่ตน หรือผู้รับมอบอำนาจช่วง หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดขัดแย้งกับบริษัท ซึ่งการอนุมัติรายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว ตามที่ข้อบังคับของบริษัท หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

การประชุม

  1. คณะกรรมการบริหาร ต้องประชุมร่วมกันอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และสามารถจัดประชุมเพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมตามสถานการณ์ทางธุรกิจ
  2. การประชุมของคณะกรรมการบริหาร ให้ประธานกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนดและเรียกประชุม
  3. การประชุมคณะกรรมการบริหารต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการบริหารจึงจะครบองค์ประชุม และให้ประธานกรรมการบริหารเป็นประธานในที่ประชุม
  4. คณะกรรมการบริหาร อาจเชิญคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมหารือและชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้
  5. คณะกรรมการบริหารของบริษัท ต้องประชุมร่วมกันกับตัวแทนกรรมการบริหารของบริษัทแม่ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันพิจารณารับทราบ การรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงของบริษัทว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอแล้ว
  6. ผู้บริหาร และ/หรือพนักงาน ที่เข้าร่วมประชุมเรื่องที่เกี่ยวข้อง จะได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการบริหาร ทำหน้าที่บันทึก และจัดทํารายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร และนําเสนอให้คณะกรรมการบริหารตรวจสอบลงนาม
  7. มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบริหารที่มาประชุมและออกเสียงลงคะแนน หนึ่งคนมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

การรายงานของคณะกรรมการบริหาร

  1. คณะกรรมการบริหาร มีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการบริหารต้องนำส่งรายงานผลสรุปการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และกิจกรรมที่สำคัญต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส
Upload : 14 พฤษภาคม 2562