บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้ดำเนินการจัดทำกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อ้างอิงแนวทางตามหลักการของ UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านโดยมี 5 ขั้นตอนตามหลักการ ดังนี้
- การกำหนดขอบเขตการตรวจสอบ
บริษัทฯ กำหนดขอบเขตกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง ในดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก การเลือกปฏิบัติ การคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศทุกรูปแบบ สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค และสิทธิมนุษยชนอื่นๆ
- การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ
บริษัทฯ ได้ทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงประเด็นความเสี่ยงด้านความเท่าเทียมของค่าตอบแทนและการเลือกปฏิบัติ เพื่อจัดทำเป็นรายการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Human Rights Impact Assessment) มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเกณฑ์ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบ ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถวางแนวทาง/มาตรการลดผลกระทบให้เหมาะสมกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: โอกาสที่จะเกิดขึ้น
ระดับโอกาสที่จะเกิดขึ้น
|
ลักษณะของโอกาสที่จะเกิดขึ้น
|
4 มีโอกาสสูง (<25%) |
เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการหลายครั้งต่อปี |
3 มีโอกาสปานกลาง (10-25%) |
เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการเป็นครั้งครา |
2 มีโอกาสน้อย (1-10%) |
เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการน้อยมาก แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
|
1 มีโอกาสน้อยมาก (>1%) |
เหตุการณ์เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นประเภทเดียวกับพื้นที่ปฏิบัติการแต่ เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ปฏิบัติการ
|
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ผลกระทบ
ระดับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
|
ลักษณะของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
|
4 มีผลกระทบสูง |
- - ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลกระทบในวงกว้างหรือส่งผลต่อกลุ่มประชากรที่เกินกว่าขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ
- - บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้สิทธินั้นกลับคืนมาได้
- - ผลกระทบ / เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก
- ที่เป็นอิสระ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาร่วมกับบริษัทฯ
|
3 มีผลกระทบปานกลาง |
- - บริษัทฯ มีความจงใจในการให้ความช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
- - ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ส่งผลกระทบต่อ
- ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ปฏิบัติการ
- - บริษัทฯ มีความขัดแย้งด้านสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Vulnerable Group)
|
2 มีผลกระทบน้อย |
- - บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานอื่น
- - บริษัทฯ ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้มีส่วนได้เสียภายในหรือภายนอกได้
|
1 มีผลกระทบน้อยมาก |
- - ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียจากภายในหรือภายนอกได้รับการป้องกันแก้ไข
- ในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และโดยกลไกการจัดการข้อร้องเรียนของบริษัทฯ
|
- สูงมาก
-
บริษัทฯ ต้องหยุดการดำเนินการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทันที พร้อมดำเนินการลดผลกระทบและแก้ไขเยียวยาทันทีตามมาตรการที่ได้วางไว้ เพื่อบรรเทาและลดผลกระทบเชิงลบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
- สูง
-
บริษัทฯ ต้องมีการจัดการเพื่อหามาตรการลดระดับความเสี่ยงทันที เพื่อทำให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ปานกลาง
-
บริษัทฯ ต้องมีการจัดการเพื่อหามาตรการลดระดับความเสี่ยง เพื่อทำให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ต่ำ
-
บริษัทฯ ดำเนินการตามมาตรการควบคุมและบรรเทาผลกระทบของ
-
บริษัทฯ ที่มีอยู่ และคอยติดตามตรวจสอบสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง
- การกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบและป้องกัน
บริษัทฯต้องคาดการณ์ผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่ได้กำหนดจากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และออกมาตรการ รวมถึงกำหนดมาตรการบรรเทาและป้องกันผลกระทบดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงสูง และสูงมาก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมให้ผลกระทบอยู่ในระดับต่ำหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็นความเสี่ยงนั้นๆให้มีความตระหนักถึงผลกระทบและปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
- การติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
เนื่องจากประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อกิจกรรมและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเปลี่ยนไป บริษัทฯ จึงต้องทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรการบรรเทาผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และมีการสื่อสารผ่านการอบรมพนักงานครอบคลุมในเรื่องสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้พนักงานมีความตระหนักถึงอย่างต่อเนื่อง
- การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา
บริษัทฯให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และในกรณีที่มีเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ มีกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นธรรม และมีมาตรการแก้ไขและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในรูปแบบทางการเงินและไม่ใช่การเงิน ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสรุปบทเรียนเพื่อจัดทำมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ อีกทั้ง บริษัทฯยังได้กำหนดมาตรการในการลงโทษในกรณีที่พนักงานบริษัทฯเป็นผู้ละเมิดสิทธิฯ ดังนี้
- การตักเตือนด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร / การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
- การให้พักงาน
- ตัดหรือระงับการจ่ายเงินโบนัสประจำปี
- การงดปรับฐานเงินเดือนประจำปี
- ให้ออก
ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ในกรณีที่มีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ดังนี้
- ทางไปรษณีย์:
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน)
-
55/2 หมู่ที่ 8 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร 74110
- ทางอีเมล: ac@aienergy.co.th
- โทรศัพท์ / โทรสาร:
0-34877485-8 / 0-34877491 – 2
- เว็บไซต์ของบริษัทฯ: www.aienergy.co.th
Upload : 14 พฤศจิกายน 2566